สื่อประกอบการจัดประสบการณ์ทางภาษา

สวัสดีค่ะวันนี้จะได้เสนอผลงานสื่อการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นสื่อที่คล้ายๆกับเกมการศึกษา คล้ายๆว่าเป็นจิ๊กซอร์ ต่อภาพและตัวอักษรให้ได้คำที่ถูกต้อง สื่อชนิดนี้สาสารจัดประสบการณ์ทางภาษาใหกับเด็กได้โดยให้เด็กได้รู้จักการดูภาพและคิดหาคำตอบ ซึ่งในขั้นนี้เด็กได้ทักษะในการอ่านคืออ่านจากภาพ และยังได้ทักษะทางการพูดอีกด้วยและยังจะได้ทักษะทางการฟังและเขียนด้วย นอกจากนี้สื่อนี้ยังส่งเสริมพัฒนารทางด้สนร่างกาย อารมณื สังคมและสติปัญญาได้อีกด้วย

การบูรณาการการจัดประสบการณ์ทางภาษาผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์

สวัสดีค่ะวันนี้เรามารู้ถึงการบูรณาการทางภาษาผ่านทางกิจกรรมสร้างสรค์ ซึ่งฝนกิจกรรมสร้างสรรค์เราสามารถสอนภาษาให้กับเด็กได้ ซึ่งเอาจให้เขาเล่าเหตุการณ์ว่าทำไมจงคิดสร้างผลงานชิ้นงานชิ้นนี้ขึ้นมา ทำหนูจึงอย่างนั้น ซึ่งในกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ได้ทำก็คือการปั้นรูปต่างตามจินตนาการ และการดัลูกโป่งให้เป้นรูปต่างๆ ซึ่งเราสามารถถามเด็กและให้เด็กตบ เช่นว่า "ทำไมหนูจึงปั้น/ดัดลูกโป่งรูปปนี้ค่ะ"หรือ "ถ้าหนูไม่ปั้น/ดัดรูปนี้หนูจะทำอะไรได้อีกค่ะ" หรือแจให้เด็กเล่าเหตุการณืที่เกี่ยวข้องกับผลงานที่เด็กสร้างสรรค์ขึ้นมาจากจินตนาการของตัวเอง ซึ่งการบูรณาการผ่านทางกิจกรรมสร้างสรรค์อาจจัดได้มากมายแล้วแต่ครูว่าจะจัอะไรให้กับเด็ก แต่สำหรับการจัดประสบการณืทางภาษาให้เด็กเราสามรถสอนได้ในทุกเวลาและทุกกิจกรรมค่ะ....

สอนภาษาผ่านทางกิจกรรมสร้างสรรค์

สวัสดีค่ะวันนี้มาพบกันอีกแล้วในวันนี้เต็มใจเสนองานศิลปะสร้างสรคค์ที่เราสามารถสอนภาษาให้กับเด็กได้ ซึ่งในนี้จะขอเสนอการพิมพ์ภาพ ซึ่งเรสามารถสอนโดยให้เด็กเล่าถึงผลงานที่สร้างมา และงานที่ 2 ก็คือการตัด ฉีก ปะ ซึ่งเราก็สามารถสอนเด็กถึงสาเหตุที่เด็กสร้างสรรค์งานขึ้นมา หรือเเรงบันดาลใจที่สร้างผลงาน ทั้งนี้ในการสอนภาษาสำหรับเด็กเราสามารถบูรณาการได้ในทุกกิจกรรม.....

ศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลสามเสน

สวัสดีค่ะ วันที่ 14 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา พวกเราได้ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน ซึ่งมีการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ให้กับเด็กๆ ซึ่งมีโต๊กิจกรรม 4 โต๊ะ คือ วาดภาพด้วยสีเทียน งานประดิษฐ์ ปั้นแป้งโด เด็กก็ทำงานศิลปะอย่างสนุกสนาน เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยเด็กๆก็นำผลงานไปส่งให้คุณครูและบอกชื่อผลงานและเรื่องราวที่อยู่ในภาพ ซึ่งเป็นการสอนสิลปะไปในตัวอีกด้วย และในตอนบ่ายเราก็ได้เข้าร่วมสัมนาเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยซึ่งเราได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมามากมายเลยทีเดียว ไม่ว่า จะเป็น กิจกรรมหลัก 6กิจกรรม เทคนิคการสอนในแต่ละกิจกรรมซึ่งจะเป็นประโยชน์มากมายในการฝึกสอนในโอกาศต่อไป........

วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียน วันที่19 ธันวาคม 2551

สวัสดีค่ะวันนี้ เนื่องจากวันพุธ ที่ 17 ธันวาคม 2551 ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากติดสอบกลางภาค ดังนั้นพวกเราจึงไม่ได้เรียน วิชากรจัดประสบการณ์ทางภาษา แต่พวกเราก็ได้มาเรียนในวันศุกร์ แต่บรรยากาศในการเรียนวันนี้ค่อนข้างที่จะสบสนวุ่นวาย เนื่องจากอยู่หน้าคอมพ์ดังนั้นจึงไม่ค่อยที่จะมีใครฟังที่อาจารย์สอนเท่าไหร่นัก บางคนเล่น hi 5 บางคนดูเวปอะไรก็แล้วแต่จะดูกันไป จึงทำให้การเรียนในวันนี้ข้าพเจ้ารู้สึกว่าไม่ค่อยจะเข้าใจอะไรเลย เนื่องจากไม่ค่อยได้ฟังอาจารย์อธิบา.แต่ข้าพเจ้าก้พอที่จะสรุปเป็นความรู้ได้ดังนี้
ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวมอ่าน
– เขียน เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน และสะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด
มีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
-ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ
-ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินความสามารถการอ่านของเด็กแต่ละคนไปด้วยพร้อมกัน ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านเงียบ ๆ
-ให้เด็กได้เขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจ อย่างอิสระ ครูตรวจสอบสภาพการเขียนของเด็กแต่ละคนโดยการให้เด็กเล่าสิ่งที่เขียนหรือวาดให้ครูฟัง โดยครูอาจแนะนำการเขียนที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กพัฒนาการเขียนได้ด้วยตัวเด็กเองทุกวันโดยไม่มุ่งแก้คำผิดหรือทำลายความอยากเขียนของเด็ก
ความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน
ภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันโดย ความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่อเราพูด เล่า สนทนาโต้ตอบกัน เราอ่านจากหนังสือประเภทต่าง ๆ อ่านจากป้ายในทุกหนทุกแห่งที่สนใจ จะทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวต่างๆไปพร้อมๆกันและช่วยให้เด็กมี ความรู้เพิ่มพูนขึ้น ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง ซึ่งเด็กนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร หรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายในภาษาเขียน จุดสำคัญการส่งเสริมและพัฒนาภาษาคือการที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง ในขณะที่ครูอ่านไป เด็กจะมองตามตัวหนังสือและมักจะพยายามหาความหมายไปด้วยจากภาพหรือจากตัวหนังสือ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการรู้หนังสือ…
และอาจารย์ยังได้เสริมถึงเรื่องกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้เด็กมีการเรียนรู้ทางภาษาได้เช่น
1.การเล่าสิ่งที่ตนเองรัก
2.การเล่าข่าวหรือกิจกรรมที่ตนเองได้ไปพบเจอมา

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ทำงานศิลปะค่ะ












สวัสดีค่ะ วันนี้ก็มาพบกันอีกแล้วนะคะ วันนี้เราก็จะมาเล่าเรื่องการเรียนศิลปะสำหรับเด็กค่ะ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (16 ธันวาคม 2551) พวกเราได้งานศิลปะกันก็คือ การบิดลูกโป่งเป็นรูปต่างๆ โดยการสอนของพี่ๆเอกสิลปกรรม ซึ่งข้าพเจ้าเองได้บิดเป็นรูปดอกไม้ค่ะ ซึ่งข้าพเจ้ารู้สึกภาคภูมิใจค่ะที่ได้ผลงานที่สวยงามอย่างนี้ ไม่เคยนึกเลยว่าจะสามารถทำอะไรที่น่ารักๆและสวยงามอย่างนี้ได้ในชีวิตนี้ เพราะตั้งแต่เกิดมาก้ไม่เคยได้แสดงฝีมือโดยการทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันกับเขาเลย

การทำงานในวันนี้ก็รู้สึกดีมากมายเลยพี่ๆก็ได้ช่วยเหลือและสอนทำอย่างเป็นกันเอง และเพื่อนๆก็ช่วยเหลือกันอย่างดีเลยค่ะ และช่วยกันทำอย่างเต็มที่ทีเดียว และผลงานที่ออกมาก็เป็นอย่างที่เห็นค่ะ










วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เล่านิทานค่ะ

สวัสดีค่ะวันนี้ก็มาพบกันอีกแล้วนะค่ะ วันนี้จะมีเรื่องมาเล่าให้ฟังค่ะคือเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ที่ผ่านมาค่ะคือ ดิฉันได้ไปเล่านิทานให้เด็กๆฟัง ที่สาธิตค่ะ วันนนี้ได้เล่าให้อนุบาล 1 ฟงค่ะ เด็กก็ค่อนข้างที่จะห้ความสนใจกับการเล่านิทานวันนี้พอสมควรค่ะ
นิทานที่เล่าในวันนี้ก้คือนิทานเรื่อง ทำผิดแล้วกล้าขอโทษนะแพนด้า ตอนที่ไปเล่าก้รู้สึกตื่นเต้นมากเพราะได้ทราบถึงวีรกรรมของเด็กอนุบาล1 มาก่อนแล้ว แต่เมื่อได้ไปเล่าจริงๆก็รู้สึกหนักใจนิดหน่อยค่ะเพราะเมื่อเราถามอะไรไปเด็กก้เงีบยบ แต่..อาจจะเป็นที่เรามากกว่าไม่มีเทคนิคในการเล่าเพื่อให้เด้กสนใจ
แต่..เมื่อเมื่อเวลาผ่านไปได้ระยะหนึ่งเด็กก็เริ่มที่จะให้ความสนใจและตอบคำถามกับเราบ้าง ก้รู้สึกดีมากๆค่ะ ...


วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 3 ธันวาคม 2551


สวัสดีค่ะ สำหรับการเรียนวิชาการจัดประสบการร์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยในวันนี้ข้าพเจ้าพที่จะสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

- อาจารย์ทบทวนความรู้เดิมที่ได้เรียนในอาทิตย์ที่แล้ว และเนื้อหาที่พวกเราได้เรียนในวันนี้พอที่จะสรุปได้ดังนี้

กระบวนการเรียน

บรรยากาศการเรียน มีลักษณะของการร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผน คือ คิดด้วยกันว่าจะทำอะไร ทำเมื่อไร ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาไดอย่างไร

การวางแผนจะมีทั้งระยะยาว( long- range plans) เพื่อวางกรอบความคิดกว้าง

การวางแผนระยะสั้น(shot- range plans) โดยเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทำกิจกรรม

การฟังและพูดของเด็ก

เด็กมีโอกาสได้ยินเสียงแม่พูด แม้ว่ายังพูดไม่ได้

เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดเพราะการสอนเด็กใหพูดนั้นเด็กจำเป็นต้องได้ยิน ได้ฟังภาษาพูดก่อน ยิ่งได้ฟังมากจะเข้าใจชัดเจนขึ้น

เด็กวัย 2-3 ขวบการพูดของแม่จะช่วยให้ลูกมีพพัฒนาการทางภาษาที่ดี การสนทนา การวักถาม เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ในด้านการเข้าใจความหมายของภาษาจากเรื่องง่าไปหาเรื่องที่ยากและสลับซับซ้อนมากขึ้น

ภาษามีบทบาทในการสื่อสารความคิดรวมไปถึงจินตนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนได้เป็นอย่างดี

การอ่านและเขียนของเด็ก

การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นสิ่งจำเป็นในการให้โอกาสเด็กเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเขียน ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตามตัวหนังสือไปด้วย ทำให้เด็กเรียนรู้กฏเกณฑ์ทุกขั้นตอน สิ่งที่สำคัญคือ การให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องท่อ่านว่าสิ่งที่ประกอบกันขึ้นคือรวมทั้งหมดที่เป็นเนื้อหาที่นำเสนอระบบการคิดผ่านไวยากรณ์ของภาษา

ควรสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกฏเกณฑ์ทางภาษาอย่างง่ายๆ เนื้อหาที่อ่านควรสัมพันธ์กับสิ่งๆรอบตัว และพยายามเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็กตลอดเวลาเพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกี่ยวพันของภาษาเขียนกับชีวิตจริง

จึงกล่าวได้ว่า การเขียน หมายถึง การสื่อสารเพื่อแสดงความคิดความรู้สึกออกมาอย่างความหมาย

การเขียนและการอ่านจะดำเนินการไปพร้อมกัน เนื่องจากการเป็นนักเขียนที่ดีนั้นต้องอาศัยการอ่านที่แตกฉานในเรื่องนั้นๆ ส่วนการฝึกฝนให้เด็กเขียนหนังสือนั้น ครูต้องตระหนักว่าการฝึกเขียรที่ให้ลอกเลียนแบบโดยเด็กไม่ได้ใช้ความคิดเเตเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือหรือฝึกเฉพาะความสวยงามของลายมือแตกต่างโดยสิ้นเชิงกัการเขียนที่มาจากความคิด

ภาษาที่ได้จากกาฝึกคิดและการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาสัญลักษณ์ คือ ตัวอัการอย่างธรรมชาติจากการฟังมากได้อ่านมาก จนสามารถถ่ายทอดเองได้ และมาฝึกฝนความถูกต้อง สวยงามภายหลัง่วนการอ่านนั้นสามารถทำได้ตลอดเวลาด้วยการอ่านจากหนังสือ ถนน สิ่งรอบตัว

ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ และกิจกรรมที่จัดให้เด็กให้อ่านเงียบๆตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่ เป็นกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายร่วมกัน ในการกรรับฟังและการตรวจสอบความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่รู-เด็กเยนร่วมกัน หรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเอง

ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทงภาษาแบบองค์รวม

อ่าน-เขียน

- เน้นความเข้าใจเเน้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่

- การคาดคะเนโดยการเดาในขระเขียน อ่าน และสะกด เป็นสิ่งที่ได้รับในการเรียนรู้ภาษาธรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถุดฃกต้องทั้งหมด

ในการเรียนในวันนี้ก้พอที่จะสรุปได้เพียงเท่านี้ และนอกจากเรียนเนื้อหาในเรื่องนี้แล้วอาจารยืยังมีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และประสบการณืต่างๆที่อาจารย์ได้ประสบพบเจอมาให้ได้ฟังิด้วยเช่น

สื่อที่นำเข้าสู่บทเรียน

- เพลง

- คำถาม

- คำคล้องจอง

- นิทาน

- เกม

- อื่นๆ

สำหรับในการบันทึกการเข้าเรียนของข้าพเจ้าก็ขอจบเพียงเท่านี้ นะค่ะ

สวัสดีค่ะ